วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์

เว็บไซต์ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆคือ

1.       โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์ เช่น Notepad/Editplus สามารถเขียนเป็นภาษา HTML CSS, PHP, ASP, Perl, C/C++, Java
แนวทางการเขียนเว็บไซต์นั้นสามารถเขียนได้หลายภาษา ใช้ได้หลายโปรแกรมแล้วแต่ความชำนาญและความสะดวก ไม่มีโปรแกรมไหนที่สร้างเว็บไซต์ได้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด แต่มันขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสมและการใช้งาน กับการทำเว็บมากกว่า

2.       ตั้งชื่อเว็บไซต์ หรื่อการจดโดเมนเนม การจดโดเมนเนมทำให้คนรู้จักชื่อเว็บไซต์ของเรา โดเมนเนมส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้หรือจดตามเว็บไซต์ที่รับจดซึ่งมีอยู่ทั่วไป และในปัจจุบันสามารถจดโดเมนเนมเป็นภาษาไทยได้แล้ว ซึ่งเมื่อได้ชื่อแล้วก็ต้องหา “.” ตามหลังโดเมนเนม ดังนี้
.com เป็นนามสกุลที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากสั้นและจำได้ง่าย เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ หรือ เว็บไซต์ทุกประเภท แต่ชื่อที่จะสามารถจดทะเบียนได้นั้นมีน้อยมากแล้ว เพราะชื่อดีๆส่วนใหญ่ถูกจดทะเบียนหมดแล้ว
.net แสดงถึง เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย Internet
.org เป็นนามสกุล ที่เหมาะสำหรับองค์กรทุกประเภทที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น หน่วยงานราชการ มูลนิธิ เป็นต้น
.biz เป็นนามสกุล ที่จะมาแทนที่ .com เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ หรือ เว็บไซต์ทุกประเภท กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ
.info เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับองค์กร หรือ เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ทุกประเภท
.th จะเป็นการบอกว่า เว็บไซต์ที่จดทะเบียนDomainภายใต้ .th นี้เป็นองค์กรที่อยู่ภายในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย
.in.th เหมาะสำหรับ บุคคลทั่วไป หรือหน่วยงานในประเทศไทย
.co.th เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายในประเทศไทย
.ac.th เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่เป็นสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
.go.th เหมาะสำหรับองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐบาลไทย
.or.th นามสกุลนี้จะเหมือนกับ .go.th แต่ต่างกันตรงที่บอกว่าเป็นองค์กร หรือหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรในประเทศไทย
.mi.th เหมาะสำหรับหน่วยงานทหารในประเทศไทย

3.       หาที่อยู่ให้กับเว็บไซต์ คือการหาเช่า Hosting การเช่าHosting จึงถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้Websiteของเรามีตัวตนอยู่จริงๆ ปกติราคาค่าเช่าHosting มักคิดเป็นรายปีเหมือนกับการต่ออายุชื่อของโดเมน


ขั้นตอนการทำเว็บ
1. เปิดโปรแกรม Notepad
2. พิมพ์ Source code ลงใน Notepad ซึ่ง Source code เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ภาษา HTML ซึ่งใช้ในการจัดหน้าของเว็บเพจ เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ save as ใสชื่อไฟล์เป็น (ชื่อไฟล์).html และเลือก save as type เป็น All flies จากนั้นก็ save ไฟล์




คำสั่งเริ่มต้น
รูปแบบ   <HTML>.....</HTML>

คำสั่ง <HTML> เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม และ </HTML>เป็นคำสั่งจุดสิ้นสุดโปรแกรม

คำสั่งการทำหมายเหตุ
รูปแบบ <!-- ..... --> 
ข้อความที่อยู่ในคำสั่งจะปรากฎอยู่ในโปรแกรมแต่ไม่ถูกแสดง บนจอภาพ

ส่วนหัว
รูปแบบ <HEAD>.....</HEAD>
ใช้กำหนดข้อความ ในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้ จะมีคำสั่งย่อย อีกหนึ่งคำสั่ง คือ <TITLE>

กำหนดข้อความในไตเติลบาร์
รูปแบบ <TITLE>.....</TITLE>
เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสาร จะปรากฎ ขณะที่ไฟล์ HTML ทำงานอยู่ ข้อความ ที่กำหนด ในส่วนนี้ จะไม่ถูกนำไปแสดง ผลของ เว็บเบราเซอร์แต่จะปรากฎในส่วนของไตเติบาร์ (Title bar) ที่เป็นชื่อของวินโดว์ข้างบนไม่ควรให้ยา เกินไป เพียงให้รู้ว่าเว็บเพจที่กำลัง ใช้งานอยู่เกี่ยวข้องกับอะไร

ส่วนของเนื้อหา
รูปแบบ <BODY>.....</BODY>
ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วย คำสั่ง <BODY> และจบลงด้วย </BODY> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนที่จะ แสดงทางจอภาพ

การเติมสีสัน


   AQUA
BULE
GRAY
LIME
NAVY
PURPLE
SILVER
WHITE (สีขาว)
BLACK
FUCHSIA
GREEN
MAROON
OLTVE
RED
TEAL
YELLOW
 



สีของพื้นฉากหลัง
รูปแบบ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="#FF0000">

เราใช้ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ <BODY> ซึ่งจะทำให้เกิดสีตามที่เราเลือก ลักษณะเป็นฉากสีอยู่ข้างหลัง

สีของตัวอักษรบนเว็บ
รูปแบบ Text=#รหัสสี
ตัวอย่าง <BODY TEXT="#00FF00">
เรากำหนดเช่นเดียวกับการทำสีของพื้นฉากหลังโดยให้เป็นส่วน หนึ่งของ <BODY> แต่ในการใส่รหัสสีนั้นเราต้องดู ให้เหมาะสมกับฉากหลังด้วยเช่น <BODY TEXT="#00FF00"> ในการ ทำสีของ ตัวอักษรนี้สีจะปรากฏบนเว็บเบราเซอร์ เป็นสีเดียวตลอด

สีของตัวอักษรเฉพาะที่
รูปแบบ <FONT COLOR="#สีที่ต้องการ">...</FONT>
ตัวอย่าง <font color="#FF0000">สีแดง</font>
คำสั่งนี้เราใช้ในการเปลี่ยนสีของตัวอักษรในส่วนที่เราต้องการให้เกิดสีสันแตกต่างไปจากสีตัวอักษร อื่น ๆ เช่น <FONT COLOR="#FF0000">สีแดง</FONT>ตัวหนังสือคำว่าสีแดงก็จะเป็นสีแดงตามที่เราต้องการทันที

สีของตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์
รูปแบบ LINK="#รหัสสี" ALINK="#รหัสสี" VLINK"#รหัสสี"
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="000000" TEXT="#F0F0F0" LINK="#FFFF00" ALIGN="#0077FF" VLINK="#22AA22">
กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
     LINK       =    สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
     ALIGN    =    สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
     VLINK    =    สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว

ตัวอย่างรหัสสี







วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โดเมนเนม

โดเมนเนม คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์" คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


ความจริงแล้วโดเมนเนม ก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่งเราอาจจะลองพิมพ์ 72.14.235.147 แทนการพิมพ์ www.google.co.th ก็สามารถเปิดเว็บ google ได้เช่นเดียวกัน เหตุที่เราต้องใช้ Domain name แทน IP Address เพราะว่า จำได้ง่ายกว่า สามารถสื่อความหมายได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอะไร และเมื่อย้าย web server ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโดเมนเนม


โครงสร้างของโดเมนเนมเป็นดังนี้

1.  โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) ซึ่งโดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่ม ดังนี้

.mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา

.gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล

.com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน

.net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย

.edu แทนสถาบันการศึกษา

.org แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยไม่ได้หวังผลกำไร

.xx ใช้ตัวอักษร 2 ตัวแทนชื่อประเทศ เช่น .th หมายถึงประเทศไทย

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ โดเมนลำดับบนสุดอีก 7 กลุ่มคือ

.firm แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป

.store แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า

.web แทนเว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ

.arts แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม

.rec แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนันทนาการ

.info แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล

.nom สำหรับบุคคลทั่วไป

2.       โดเมนระดับรอง (Second-level Domain)


3.       โดเมนย่อย (Sub domain) 


อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมน
1.       ชื่อโดเมน สามารถใช้ ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) ได้
2.       ชื่อโดเมน โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
3.       ชื่อโดเมน มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
4.       ชื่อโดเมน ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
5.       ชื่อโดเมน ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space


หลักการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย
1.      ชื่อโดเมน จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่
        เกี่ยวข้องกับ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
2.      ชื่อโดเมน จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
3.      ชื่อโดเมน จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่างๆ ใน
        ประเทศ
4.      ชื่อโดเมน จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
5.     ชื่อโดเมน จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้ อ่านออกเสียง
        ได้ตรงกัน มีความหมายตรงกัน


ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน
1.       ความยาวของชื่อโดเมนไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2.       ชื่อโดเมนต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น
3.       ถ้าเป็นชื่อโดเมนของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
4.       ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของโดเมน คือ Owner Detail
5.       ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant 
          E-Mail
6.       บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่นๆ


การจดทะเบียนโดเมนเนม การจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.       การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ

การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .co.th, .or.th, .ac.th, in.th เช่นนามสกุล ".co.th" มีคนจดมากกว่าชนิดอื่นๆ เป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน

โดเมน นามสกุล .or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน

โดเมน นามสกุล .ac.th เป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน

โดเมน นามสกุล .in.th เป็นเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน

โดเมน นามสกุล .go.th เป็นเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่

โดเมน นามสกุล .net.th เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย

การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ มีกฎระเบียบมาก ต้องจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งประเภทตามที่เขาแบ่งไว้ จึงจดทะเบียนโดเมนเนม ได้ยากกว่าการจดทะเบียนโดเมนเนม ต่างประเทศ ปัจจุบันการจดทะเบียนโดเมนเนม ภายในประเทศ ยังถือว่ามีน้อยมาก เนื่องจากการจดทะเบียนโดเมนเนม มีข้อยุ่งยากดังที่กล่าวข้างต้น และมูลค่าของเว็บไซต์มักจะถูกมองว่ามีค่าน้อยกว่าการจดทะเบียนโดเมนเนม ที่มีนามสกุลเป็น ".com" กับศูนย์จดทะเบียนโดเมนเนม ต่างประเทศ ทั้งๆ ที่มีความสามารถเหมือนกัน

2.       การจดทะเบียนโดเมนเนมต่างประเทศ

การจดทะเบียนโดเมนเนมต่างประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .com .net .org

โดเมน นามสกุล .com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ ด้วย

โดเมน นามสกุล .net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์คของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย

โดเมน นามสกุล .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
ปัจจุบันได้เกิด โดเมน ชนิดอื่นขึ้นอีกมากมาย เนื่องจากว่ามีการพยายามแบ่งประเภทเว็บไซต์ออกไป และขณะเดียวกันชื่อ โดเมน ก็เหลือน้อยลง ดังมีรายละเอียดดังนี้

โดเมน นามสกุล .cc เป็น โดเมน ที่คาดว่าน่าจะมีความนิยมทัดเทียมกับ .com ในเวลาอันใกล้นี้เนื่องจาก .com แทบจะไม่มีชื่อดีๆ เหลืออยู่แล้ว การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไปได้

โดเมน นามสกุล .biz สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไป เป็น โดเมน น้องใหม่ พึงเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มธุรกิจที่เป็น ธุรกิจจริงๆ ซึ่งก็ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักค่อนข้างเร็ว

โดเมน นามสกุล .info ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น

โดเมน นามสกุล .ws เป็นชนิดของชื่อเว็บไซต์หนึ่งที่พยามยามสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ .cc การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้ได้กับทุประเภทเว็บไซต์

โดเมน นามสกุล .tv เป็นเว็บไซต์ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง ปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยมจากเว็บไซต์ประเภทสื่อพอสมควร


แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนถูกนำเสนอออกมาหลายประเภท หลายชนิดก็ตาม แต่ .com .net และ .org ก็ยังถือว่าเป็นโดเมนมาตราฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก